บริษัท STARK ผู้แทนของผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวนมากกว่า 11,000 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับความเสียหาย ได้เข้าร้องทุกข์ต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อให้เร่งดำเนินคดีต่อนิติบุคคล และบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกันกระทำความผิดจำนวน 8 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.หลักทรัพย์ ของบริษัท STARK

บริษัท STARK ผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้าร้องทุกข์ DSI

ผู้แทนของผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวนมากกว่า 11,000 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับความเสียหาย ได้เข้าร้องทุกข์ต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อให้เร่งดำเนินคดีต่อนิติบุคคล และบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกันกระทำความผิดจำนวน 8 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.หลักทรัพย์

โดยขอให้เร่งรัดจับกุม ควบคุมตัวกลุ่มบุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดในทันที เนื่องจากผู้ต้องหาจะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และอาจหลบหนี เพราะมูลค่าความเสียหายมีจำนวนสูงมาก และคัดค้านการประกันตัวระหว่างสืบสวนสอบสวนของกลุ่มบุคคลดังกล่าวในทันที และไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพราะอาจหลบหนีไปต่างประเทศ กับขอให้ DSI เร่งประสานงานกับคณะกรรมการป้องปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่ออายัดทรัพย์สิน และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องของกลุ่มผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวทั้งหมดของบริษัท STARK โดยทันที

ผู้ต้องสงสัย 8 ราย

  1. บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  3. นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบุคคลที่ผู้ตรวจสอบบัญชีได้ให้ข้อมูลว่าอาจได้รับผลประโยชน์จากการโอนเงินเข้าบัญชีบริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  4. นายชนินทร์ เย็นสุดใจ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท STARK
  5. นายชินวัฒน์ อัศวโภคี อดีตกรรมการบริษัท STARK
  6. นายกุศล สังขนันท์ อดีตกรรมการบริษัท STARK
  7. นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินบริษัท STARK
  8. และหรือ บุคคล นิติบุคคลอื่นใดที่ร่วมกันสมคบคิดกระทำผิดโดยทุจริต

บริษัท STARK ปลอมแปลงบัญชี

โดยกล่าวหาว่า บุคคลและนิติบุคคลดังกล่าวมีพฤติการณ์ร่วมกันกระทำความผิด ระหว่างปี 2563 – 2564 สร้างงบการเงินบริษัทปลอม ทำให้พวกข้าพเจ้าที่เป็นผู้ลงทุนรายย่อยมากกว่า11,000รายเข้าไปซื้อหุ้นลงทุน แต่ปรากฏความจริงจากการตรวจสอบบัญชีเป็นกรณีพิเศษในภายหลังว่า มีการเบียดบังเงินของบริษัท STARK ไปมากถึง 10,451 ล้านบาท โดยอ้างว่า เป็นการจ่ายให้บริษัทคู่ค้า 3 ราย

แต่ผู้ตรวจสอบบัญชีกลับพบว่าบริษัท STARK ไม่ได้จ่ายให้บริษัทคู่ค้าดังกล่าว แต่เป็นการโอนเงินออกไปให้ บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลลิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับนายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยตรง อันเป็นพฤติการณ์ผิดกฎหมายฐานฟอกเงิน

ทั้งยังปรากฏตามหลักฐานการให้สัมภาษณ์ของ นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ อดีต CFO ของบริษัท STARK ว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บริหาร 3 ราย โดยรับคำสั่งโดยตรงจากนายชนินทร์ให้ปลอมแปลงบัญชี เพื่อหลอกลวงให้พวกข้าพเจ้า ผู้ลงทุนรายย่อยเข้าใจผิดในสาระสำคัญว่ากิจการกำลังมึความเจริญก้าวหน้า และราคาหลักทรัพย์มีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้น พวกข้าพเจ้าจึงหลงเชื่อพากันเข้ามาซื้อหุ้นลงทุน จนผลักดันให้ราคาเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 5.50 บาทต่อหุ้น มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากถึง 73,733 ล้านบาท

ซึ่งนายศรัทธาให้สัมภาษณ์ว่านายวนรัชต์ได้ขายหุ้นล็อตใหญ่ออกไปได้เงินมากกว่าหมื่นล้านบาท อันเป็นการกระทำผิดฐานปั่นหุ้นลวงให้ผู้ลงทุนรายย่อยเข้าใจผิด และฐานฉ้อโกงประชาชน เนื่องจากเมื่อความจริงปรากฏในเวลาต่อมาว่าความจริงบริษัทประสบปัญหาขาดทุน จนส่วนผู้ถือหุ้นติดลบ เข้าเกณฑ์ต้องหยุดการซื้อขายเพื่อฟื้นฟูกิจการ

ราคาหลักทรัพย์ได้ตกมาเหลือราคาปิดครั้งสุดท้ายอยู่ที่ 0.02 บาท หรือเหลือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเพียง 268 ล้านบาท หรือมูลค่าหลักทรัพย์เสียหายไปรวมมากกว่า 73,465 ล้านบาท อันเป็นการกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เนื่องจากราคาหลักทรัพย์ใม่ได้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดตามปกติธุรกิจ

ขอให้เร่งรัดจับกุมผู้กระทำผิด

บรรดาผู้กระทำผิดร่วมขบวนการยังได้บังอาจกระทำการหลอกลวง โดยเจตนาทุจริต ให้พวกข้าพเจ้าหลงเชื่อโดยเสนอ แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จทางสารสนเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่เป็นระยะ เป็นเหตุให้ประชาชนตลอดจนบริษัทกองทุนต่างๆ หลงเชื่อข้อมูลเท็จที่บุคคลกลุ่มดังกล่าวนำเสนอและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ หลายกรรมหลายวาระ อันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และเป็นการฉ้อโกงประชาชน

พวกข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ลงทุนรายย่อยในบริษัท STARK มากกว่า 11,000 ราย รวบรวมหลักฐานชั้นต้นได้ 21 ราย และอีก 1,759 ราย พร้อมจะร่วมเป็นเจ้าทุกข์ดำเนินคดีทั้งอาญาและทางแพ่ง ไม่มีที่พึ่งอื่นใด จึงได้ร่วมกันมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยขอให้ท่านเร่งดำเนินคดีต่อนิติบุคคล และบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยร่วมกันกระทำความผิดจำนวน 8 ราย ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฟอกเงิน และความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.หลักทรัพย์

โดยขอให้เร่งรัดจับกุม ควบคุมตัวกลุ่มบุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดในทันที เนื่องจากผู้ต้องหาจะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และอาจหลบหนี เพราะมูลค่าความเสียหายมีจำนวนสูงมาก และคัดค้านการประกันตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน และไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เพราะอาจหลบหนีไปต่างประเทศของกลุ่มบุคคลดังกล่าวในทันที กับขอให้ DSI เร่งประสานงานกับคณะกรรมการป้องปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่ออายัดทรัพย์สิน และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องของกลุ่มผู้ร่วมขบวนการดังกล่าวทั้งหมดโดยทันที

บริษัท STARK

บริษัท STARK ทำธุรกิจอะไร

บริษัท STARK ไม่ได้มีการ IPO แบบเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนหุ้นตัวอื่นๆ แต่ใช้วิธีเข้าตลาดแบบ Backdoor Listing

Backdoor Listing คือ การที่บริษัทเข้าตลาดหุ้นโดยทางอ้อม ด้วยการให้อีกบริษัทหนึ่งที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นอยู่แล้ว เข้าซื้อสินทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทที่ต้องการจะเข้าตลาด

อย่างในกรณีนี้ ชื่อเดิมของบริษัท STARK คือ บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ SMM ทำธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ ที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ผลประกอบการของ SMM ขาดทุนอยู่เรื่อยๆ แต่การ Backdoor ของบริษัท STARK ทำให้พื้นฐานของ SMM เปลี่ยนไป จากบริษํทรายได้หดตัว ขาดทุนเรื่อยๆ กลายมาเป็นบริษัทที่มีรายได้แตะ “หมื่นล้านบาท” และกำไรระดับเกือบ “สามพันล้านบาท”

ถามว่าบริษัท STARK ทำธุรกิจอะไร ทำไมรายได้ และกำไรดีขนาดนั้น คำตอบคือ ทำธุรกิจานสายไฟ สายเคเบิลและธุรกิจบริการแรงงาน ธุรกิจสายไฟและสายเคเบิล โดยสัดส่วนรายได้ตรงส่วนนี้ มากกว่า 90% ธุรกิจขายสายไฟ ได้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของ STARK ไปเรียบร้อยแล้ว

การเข้ามาของบริษัท STARK เรียกได้ว่าพลิกโฉม SMM ไปอย่างสิ้นเชิง จากธุรกิจตะวันตกดิน กลายมาเป็นธุรกิจเติบโตสูงและที่สำคัญคือ มูลค่าหุ้นไม่แพงเลย เมื่อวัดกันตามตำรา ด้วยผลประกอบกาที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และ P/E Ratio ที่อยู่ระดับ 10 เท่า คำถาม คือ ด้วยธุรกิจขายสายไฟอย่างเดียว เชื่อว่าตลาดคงไม่ให้ความสนใจมากขนาดนี้และผลประกอบการคงจะไม่โตแบบก้าวกระโดด แสดงว่าบริษัท STARKK ต้องมี “จุดเด่น” ด้านอื่นๆ

จุดเด่นของบริษัท STARK ที่นักลงทุนให้ความสนใจ

  • การเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เติบโตสูงมาก อย่างรถไฟฟ้า

กล่าวคือ สถานีอัดประจุ (EV Charger Station) ของรถ EV อาจจะต้องใช้สายไฟของ STARK ซึ่งบริษัทเป็นผู้ผลิตสายไฟแรงดันกลางจนถึงสูงพิเศษให้กับภาครัฐอยู่แล้ว เมื่อสถานีอัดประจุมากขึ้น บริษํทก็ขายสายไฟได้มากขึ้น เติบโตตามกระแสของรถไฟฟ้า

  • การเข้าไปลงทุนในวียดนาม

ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตเร็ว และคนมีกำลังซื้อสูง เศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัว รวมถึงเป็นฐานในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ผลักดันการเติบโตของบริษํทให้สูงยิ่งขึ้น

  • ผลประกอบการดี งบการเงินสวย ตั้งเป้ารายได้ 3 หมื่นล้าน

ต้องยอมรับว่าผลประกอบการของบริษัท STARK ดูดีมาโดยตลอด เติบโตอย่างต่อเนื่อง และบริษัทตั้งเป้าหมายไว้ว่ารายได้ของบริษัทต้องแตะระดับ 3 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ราวๆ 2.7 หมื่นล้านบาท

 

แต่แล้วเหตุการณ์ที่นักลงทุนเริ่มสงสัยก็ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปลายปี 2565 บริษัท STARK มีการประกาศว่าจะขอเพิ่มทุน 1,500 ล้านหุ้น ขายในราคาหุ้นละ 3.72 บาท  ให้กับนักลงทุนสถาบัน 11 ราย ซึ่งจุดประสงค์ของการเพิ่มทุนครั้งนี้ คือ การระดมเงินไปซื้อกิจการ LEONI AG และ LEONI Bordnetz-Systeme GmbH และหุ้น LEONI Kabel GmbH ซึ่งจดทะเบียนอยู๋ในประเทศเยอรมนี ทำธุรกิจประเภทโซลูชันสายเคเบิลสำหรับยานยนต์ แต่อยู่ดีๆ ดีลนี้ก็ถูกยกเลิกจากเหตุผลด้วยเรื่องของสถานการณ์รัสเซีย ยูเครน ยืดเยื้อ ขั้นตอนการซื้อกิจการล่าช้าออกไป และบริษัทก็ชี้แจงว่าจะเก็บเงินเพิ่มทุนไว้ลงทุนกับโครงการอื่น แล้วก็ตามมาด้วยการลาออกของผู้บริหาร กรรมการ รวมถึงผู้ตรวจสอบบัญชี ส่งผลให้เกิดการส่งงบการเงินล่าช้าออกไป ที่น่าสนใจคือ การหยุดซื้อขายหุ้น STARK ไปแล้ว ทำให้ราคาหุ้นแทบจะไม่รู้เลยว่าจะเป็นอย่างไร เชื่อว่า วันที่เปิดการซื้อขาย ถือเป็นหุ้นที่ตลาดจับตากันอย่างแน่นอน

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่ cherrystreetchurchofchrist.com

สนับสนุนโดย  ufabet369